: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
        จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
     2.1 ระบบเทคโนโลยี
        2.2 การวิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี
        2.3 การวิเคราะห์ระบบ
        2.4 ผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยี
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.โครงงานเทคโนโลยีกับการแก้ปัญหา
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
       
   
        ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทำให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสะดวกสบายขึ้น จากการที่มนุษย์ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้พบว่าเครื่องมือ หรือเครื่องจักรกล สามารถที่จะพัฒนาการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น และยังพัฒนาการใช้วัตถุดิบพลังงานให้ดีกว่าที่เคยใช้อยู่เดิม ระบบเทคโนโลยีที่นำ เข้ามาช่วยในกระบวนการที่แตกต่างกันเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าและทดลองสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้วิธีการทำงานที่ดีขึ้น
 
 
แผนภาพองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยี
(จาก สถาบันส่งเสริมการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
 
        จากแผนภาพองค์ประกอบของระยะเทคโนโลยี ถ้าพิจารณาอย่างเป็นระบบจะแบ่งออกได้ดังนี้  
 
        ตัวป้อน คือ ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาที่ต้องการหาคำตอบ ปัญหาดังกล่าวเกิดมาจากความต้องการ พื้นฐานของมนุษย์ เช่น ความต้องการในปัจจัย 4 นั่นคือ ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการเครื่องนุ่งห่ม ต้องการ อาหาร และความต้องการยารักษาโรค หรืออาจเป็นปัญหาที่เกิดมาจากความต้องการ ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ประหยัดเวลา เป็นต้น
 
 
 
        เมื่อทราบปัญหาความต้องการของมนุษย์แล้ว ในขั้นกระบวนการจะเป็นขั้นตอนการแก้ปัญหา กระบวนการในการตอบสนองของความต้องการ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากทรัพยากรให้เป็นผลผลิต หรือผลลัพธ์ โดยประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
                1. การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ
                2. การรวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีแก้ปัญหา หรือวิธีการตอบสนองความต้องการ
                3. การเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
                4. การออกแบบและปฏิบัติการ
                5. การทดสอบและประเมินวิธีการตามกระบวนที่ได้ดำเนินไป
                6. การปรับปรุงแก้ไข
                7. การประเมินผล
 
 
        ในการทำงานนักเรียนควรจะฝึกใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี โดยเริ่มจากการฝึกตั้งแต่ขั้นแรกคือ การ กำหนดปัญหาหรือความต้องการ ฝึกเขียนเป้าหมายให้ชัดเจน และฝึกวิเคราะห์ความต้องการ โดยนักเรียนควร จะใช้เหตุผลในการทำงาน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการในการดำเนินตามกระบวนการทางเทคโนโลยี จนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ การประเมินผล
 
   
 
        ผลผลิตหรือผลลัพธ์ คือ สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการทางเทคโนโลยี จนได้สิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธี การแก้ปัญหา เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น การค้นพบสิ่งใหม่ที่อำนวยความสะดวกสบาย สามารถนำ มาสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย หรือเกิดความรู้ใหม่ เป็นต้น
 
   
  ทรัพยากรทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ชนิด ดังนี้

        1. คน (Man) เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เป็นปัจจัยหลักเพราะเป็นผู้ที่ต้องใช้สติ ปัญญา ความรู้ความสามารถทักษะในการคิดการปฏิบัติ การแก้ปัญหา การออกแบบ การวิเคราะห์ การตัดสินใจ ในกระบวนการทางเทคโนโลยีถือว่าเป็นการกระทำหรือการปฏิบัติโดยมนุษย์ ดังนั้นทรัพยากรคนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ปัจจัยแรกในกระบวนการทางเทคโนโลยีที่จะขาดไม่ได้

        2. ข้อมูล (Information) เป็นส่วนที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ การประมวลผล รวมถึงการแปลความหมาย ซึ่งความรู้ทุกสาขาวิชาของมนุษย์จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างและการพัฒนา ทางเทคโนโลยี

        3. วัสดุ (Material) เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรทางเทคโนโลยี เนื่องจากกระบวนการทางเทคโนโลยี จะต้องอาศัยวัสดุต่างๆ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ เช่น ดิน หิน ปูน ทราย กระดาษ พลาสติก เป็นต้น ซึ่งวัสดุเหล่านี้ มีส่วนสำคัญในการผลิตจนเกิดผลลัพธ์นั่นก็คือผลิตภัณฑ์นั่นเอง

       4. เครื่องมือ/อุปกรณ์ (Machine and Tool) จะช่วยในการเปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนแปลง ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ให้เกิดผลสำเร็จตามความต้องการ เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องจักร ระบบกลไกต่างๆ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น มีด ไขควง เครื่องปั๊ม เลื่อย สว่าน เป็นต้น

        5. พลังงาน (Energy) เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการทำงานได้ตามระบบ เนื่องจากการผลิตคิดค้นหรือการ ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ต้องอาศัยพลังงานในการทำให้วัสดุต่างๆ เปลี่ยนแปลงตามลักษณะที่ต้องการ เช่น พลังงานกล พลังงานไฟฟ้า พลังงานแรงอาทิตย์ เป็นต้น

        6. ทุน (Capital) หรือทรัพย์สิน (Asset) หมายถึง เงินทุนที่จะใช้ในกระบวนการเทคโนโลยีบางอย่าง ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก ดังนั้น เงินทุนจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญ โดยอาจรวม ถึง อาคาร สถานที่ หรือที่ดิน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาแปลงเป็นเงินทุนได้

        7. เวลา (Time) ถือว่าเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง เนื่องจากเทคโนโลยีมีหลายระดับตั้งแต่แบบง่ายจนถึง แบบที่ซับซ้อน ซึ่งเทคโนโลยีที่ซับซ้อนอาจจะต้องใช้เวลาในการประดิษฐ์คิดค้น ดังนั้น เวลาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ จะกำหนดผลสำเร็จของเทคโนโลยีได้
 
   
 
        ปัจจัยที่เอื้อหรือขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Consideration หรือ Constriant) เป็นข้อจำกัดที่จะต้อง กำหนดให้ระบบทำงานได้มากน้อยต่างกัน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ทุนทรัพย์น้อย จำนวน บุคลากรไม่เพียงพอ ข้อจำกัดของความรู้ เวลามีจำกัด อาจจะรวมถึง ความเชื่อ ความนับถือ ความเคารพ ศาสนา วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และบารมีอิทธิพลของบุคคล เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ขัดขวาง ต่อเทคโนโลยี ในทางตรงกันข้ามหากมีทุนมากเพียงพอ บุคลากรที่มีคุณภาพ มีเวลามาก ก็จะเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อ เทคโนโลยีเช่นกัน
 
         
ดัชนี [  2.1 ระบบเทคโนโลยี ] [ 2.2 ตัวอย่างระบบเทคโนโลยี ] [ 2.3 การดำเนินงานของระบบเทคโนโลยี ] 2.4 ผลกระทบของระบบเทคโนโลยี ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com