: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
         จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
          4.1 ผลกระทบของเทคโนโลยี
             4.2 การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้
             4.3 เทคโนโลยีสะอาด
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
         
 

        เทคโนโลยีทำให้เรามีความสะดวกสบายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การติดต่อสื่อสาร การคมนาคม และอื่นๆ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางด้านสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกัน ถ้าใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดก็จะทำให้เกิดอันตรายอย่างมหันต์ต่อมวลมนุษยชาติเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การเกิดสงครามในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาผลิตอาวุธที่ใช้รบกันมีอำนาจทำลายล้างสูงมาก สามารถที่จะทำลายล้างมนุษย์ทั้งเผ่าพันธุ์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อความเป็นอยู่และสังคมมาก เทคโนโลยีส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคิดค้นของคนไทย แต่เป็นการรับเอาเทคโนโลยีจากต่างชาติเข้ามามากมาย ทำให้ใช้เทคโนโลยีอย่างไม่ถูกต้อง ปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยี ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อประเทศไทยมีหลายอย่าง เช่น

 
          1) ด้านพลังงาน
        ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมายทำให้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจึงต้องหาแหล่งพลังงานให้พอ กับความต้องการ ทำให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ผลกระทบจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ ก็เกิดขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนโดยใช้น้ำมัน หรือถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงจะปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ เถ้าถ่านสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าพลังน้ำหรือการสร้างเขื่อนทำให้เกิดผลกระทบต่อ สัตว์ป่าในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย และ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
 
 
 
          2) มลภาวะทางอากาศ
        เกิดจากควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและท่อไอเสียรถยนต์ที่ปล่อย สารพิษตะกั่วปนไอเสียออกมาซึ่งสารตะกั่วมีผลต่อระบบหายใจ ของมนุษย์ จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง คอแห้ง และชักหมดสติ และมลพิษทางอากาศอีกอย่างหนึ่งที่พบในเมืองที่มีการจราจรคับคั่ง ได้แก่ การเกิดปฏิกิริยา เรือนกระจก (Greenhouse Effect) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ปล่อยออกจากยานพาหนะ โดยจะกั้นไม่ให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ กระจายออกจากโลก ทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ เป็นต้น
 
 
 
          3) มลภาวะทางเสียง กระบวนการผลิตของโรงงาน กระบวนการขนส่งสินค้า การขนส่งคมนาคมตามเมืองใหญ่ๆ ทำให้เกิดเสียงดังมาก สร้างความรำคาญจนส่งผลเสียต่อสุขภาพและสุขภาพจิตของคนในสังคม

        4) มลภาวะทางน้ำ เกิดจากการที่โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ และมนุษย์ปล่อยน้ำเสีย ซึ่งมีสารพิษ เช่น ปรอท แคดเมียม หรือแมงกานีส เป็นต้น ลงในแม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคระบาด เช่น ท้องร่วง ไทฟอยด์ บิด โรคมินามาตะ เป็นต้น

 
 
 
          การหาทางเลือกในการแก้ปัญหา ในการแก้ปัญหาผลกระทบของเทคโนโลยีนั้นต้องกระทำอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้

        ขั้นที่ 1 กำหนดคุณลักษณะของปัญหาอย่างชัดเจน จะต้องบอกได้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร ตัวอย่างเช่น ในกรณีมลภาวะของสภาพ พื้นที่ มีเศษของที่ไม่ใช้แล้ว เช่น กระป๋อง อะลูมิเนียม แก้ว กระดาษ เป็นต้น ใช่หรือไม่ มีปัญหาการกัดเซาะและ พังทลายของหน้าดิน ที่ข้างทางหรือไม่ ปัญหาเกิดจากฝนกรดใช่หรือไม่
        ขั้นที่ 2 ศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาหลัก และทางเลือกที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ตลอดเส้นทางภายในวนอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง ประมาณ 3 กิโลเมตร เต็มไปด้วยขวด ถุงพลาสติก กระป๋องอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องทำความสะอาดมีแนวทางในการเลือกอะไรบ้าง ซึ่งมีหลายแนวทาง ดังต่อไปนี้
                1) จ้างให้มีคนเก็บทุกสัปดาห์
                2) มีกลุ่มของเยาวชนในท้องถิ่นที่จะรับอาสาทำหรือไม่
                3) ติดป้ายห้ามทิ้งสิ่งของต่างๆ ขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และแจ้งถึงโทษปรับเมื่อละเมิดตามประกาศ
                4) จัดให้มีการประกวดการแข่งขันทางด้านการวางแผนในเรื่องของการรักษาความสะอาดภายในวนอุทยานแห่งชาติ
                5) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลในเรื่องของความสะอาด
                6) จัดให้มีพื้นที่สำหรับทิ้งขยะและสิ่งของเหลือใช้ไว้ให้เป็นระเบียบ
                7) จัดให้มีการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ในเรื่องของการอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อมติดตามถนนภายในวนอุทยานแห่งชาติ
                8) ไม่มีการทำอะไรเลย

        จากตัวอย่างของแนวทางดังกล่าว เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการกำหนดวิธีการและทางเลือกในการ
แก้ปัญหา ซึ่งอย่างน้อยควรที่จะเลือกมาประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบ 3 แนวทาง เพื่อให้ได้วิธีการที่เหมาะสมที่สุด

 
 

        ขั้นที่ 3 การตัดสินใจเลือกและปฏิบัติจากแนวทางหรือวิธีการที่ได้ทำการเลือกไว้ ในบางครั้งวิธีการที่เราได้ทำการเลือกไว้ครั้งแรก อาจจะไม่ใช่วิธีการที่แก้ปัญหาให้หมดได้ในคราวเดียว จึงควรจะต้องมีการประเมินผลจากทางเลือกและวิธีปฏิบัติที่ได้ลงมือทำไปแล้ว ว่าผลที่ได้ดำเนินการไปนั้นช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นลงได้มากน้อยเพียงใด และอาจจะนำทางเลือกที่มีความสำคัญในลำดับถัดไปมาปฏิบัติด้วยก็ได้ ทั้งนี้พึงระลึกไว้เสมอว่าแนวทางหรือวิธีการในการเลือกวิธีการเพื่อแก้ปัญหานั้น ก็เพื่อที่จะทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลงไปหรือหมดไปเลย ถ้าแนวทางที่เราได้เลือกปฏิบัติไว้ไม่สามารถทำให้ปัญหาต่างๆ ลดลงได้ ก็ถือว่าปัญหานั้นไม่ได้มีการแก้ไขแต่อย่างใด

 
 
        จึงเห็นได้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์ค้นพบหนทางสู่การดำรงชีวิตที่ดีขึ้น ความสะดวกสบายต่างๆที่ มนุษย์ได้รับเป็นผลผลิตจากกระบวนการทางเทคโนโลยีทั้งสิ้นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ปัญหา สนองความต้องการของมนุษย์ ความต้องการของสังคม ความจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีบางชนิดทำให้เกิดมลภาวะและ เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ปัญหาบางอย่างเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปทำให้ ขาดความสมดุลทาง ธรรมชาติ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีต้องการให้มนุษย์ทำงานอยู่กับธรรมชาติ และเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก อย่างมีความสุข ถึงแม้จะมีผลกระทบเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อใช้กระบวนการตัดสินใจแก้ปัญหา มนุษย์ก็จะพบทางเลือกใหม่ที่ทำให้คุณภาพของชีวิตมนุษย์ดีขึ้น และปัญหาใหม่จากการใช้เทคโนโลยีก็เกิดขึ้นมาอีก มนุษย์ก็ต้องคิดหาวิธีแก้ไขต่อไป ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความต้องการไม่จบสิ้น ปัญหาใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาให้แก้ไขอย่างต่อเนื่อง วนเวียนกันไปเช่นนี้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด
 
     
 
ดัชนี [ 4.1 ผลกระทบของเทคโนโลยี ] [ 4.2 การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ] [ 4.3 เทคโนโลยีสะอาด ] [ 4.4 พลังงานทดแทน ]
[ กลับหน้าแรก ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com