: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
         จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        4.1 ผลกระทบของเทคโนโลยี
    4.2 การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้
               - สัญลักษณ์รีไซเคิล
               - ฉลากเขียว
               - เครื่องหมาย มอก.
        4.3 เทคโนโลยีสะอาด
        4.4 พลังงานทดแทน
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
   
 
        สิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นมิตรกับชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ที่ผลิตจากกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ใส่ใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบจนกระทั่งกระบวนการผลิต ได้แก่
        1) วิธีการผลิตโดยการใช้วัสดุที่สิ้นเปลืองให้น้อยที่สุด
        2) วิธีการผลิตโดยใช้วัสดุต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม ยาง เป็นต้น หรือหลีกเลี่ยงวัสดุที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
        3) ก่อนการผลิตจะต้องศึกษาว่าผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคจะนำไปใช้ในสถานการณ์ใด หรือภาวะการณ์ใด เพื่อจะนำไปเป็นข้อมูลในการผลิต
        4) การออกแบบการผลิตจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และคำนึงถึงผลเสียที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
 
การเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        ทำไมต้องเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำถามนี้หลายคนที่ได้ยินได้ฟังอาจต้อง นำมาคิด และหันกลับมามองดูตัวเราเองว่า ทุกวันนี้สินค้าและบริการที่เราซื้อมาใช้ในชีวิตประจำวันประกอบด้วย อะไรบ้าง สินค้าและบริการเหล่านั้นก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเราอย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง
        ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของประชากร การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของภาค อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดมลพิษมากมาย เช่น ก่อให้เกิด น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ปัญหาขยะล้นเมือง วิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ก็คือการส่งเสริมให้ผู้ผลิตเปลี่ยนมาผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ในการจัดการทรัพยากรและกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยสารเคมี ประหยัดพลังงาน การ เลือกใช้หีบห่อและบรรจุภัณฑ์รวมถึงการให้ความสำคัญในการรับคืนซากของผลิตภัณฑ์หลังใช้เพื่อนำไปกำจัด อย่างถูกวิธี
 
        นอกจากตัวของผู้ผลิตที่ต้องหันมาใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็มีความตื่นตัวใน เรื่องนี้เช่นเดียวกัน ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง โดยหันมาเลือกซื้อเลือกใช้สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือสินค้าสีเขียวกันมากขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน สินค้า ฉลากเขียวหรือพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษในท้องตลาดเวลานี้จึงมีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมวาง จำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเอง และเป็นส่วนหนึ่งใน การช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
                        (อ้างถึง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

        สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ สินค้าที่ผลิตจากกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใส่ใจกับผลกระทบที่ จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบจนกระทั่งสินค้านั้นถูกจัดจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ส่วนบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ บริการต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้สามารถใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมได้โดยการเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัด พลังงาน ประหยัดน้ำ ขยะจำพวกเศษอาหารสามารถนำไปทำปุ๋ยชีวภาพใช้รดน้ำต้นไม้ได้ เป็นต้น


วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ [ อ่านต่อ ]
        สิ่งที่จะทำให้เรารู้ว่าสินค้าและบริการใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้จาก สัญลักษณ์บนกล่องหรือหีบห่อหรือบนตัวสินค้า ได้แก่ สัญลักษณ์ฉลากเขียว สัญลักษณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 และ สัญลักษณ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ หากเป็นบริการต่างๆ ผู้บริโภคเพียงมองหาสัญลักษณ์การรับรอง ได้แก่ สัญลักษณ์รูปใบไม้เขียวหรือบริการโรงแรม ดังนั้นทุกครั้งที่ต้องการซื้อหรือใช้บริการต่างๆ จงเตือนตัวเองเสมอ ว่า ให้มองหาสัญลักษณ์ของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากจะได้ใช้สินค้าและบริการ ที่เป็นไปตามความต้องการของตนเองแล้ว ยังจะได้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com