: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
        จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
         3.1 ความคิดสร้างสรรค์
             - ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
             - การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
          - เทคนิคการระดมสมอง
             - ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนา
         3.2 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    4.โครงงานเทคโนโลยีกับการแก้ปัญหา
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
     
    เทคนิคการระดมสมอง
        Brainstorming หรือ การระดมสมอง เป็นเทคนิควิธีการหนึ่งที่มักจะถูกนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุป หรือการประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นใดประเด็นหนึ่งของการดำเนินการวิจัย วันนี้เลยอยากสรุปกระบวนการในการทำ Brainstorming หรือการระดมสมองเผื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และดูมีหลักการและมีเป้าหมายในการดำเนินการมากขึ้น

        Brainstorming คือ การแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อสิ่งที่กำลังสนใจ ปัญหาเพื่อหาทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา หรือนำไปสู่ข้อยุติ โดยจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ซึ่งจัดเป็นการคิดเป็นไร้แบบแผน (Free-Form Thinking)

   
           
   
  กฎในการระดมสมอง
        1. ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
        2. ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เบรคความคิดผู้อื่นที่มีความคิดไม่ตรงกับของตนเอง
        3. ปริมาณยิ่งมากยิ่งดี ยังไม่จำเป็นต้องดูข้อเท็จจริงและเหตุผล (Free-Form Thinking)
        4. อนุญาตให้ ความคิดออกนอกลู่นอกทางได้ สามารถปล่อยให้ความคิดฟุ้งกระจายได้ ยังไม่ต้องคิดจากฐานความเป็นไปได้ คิดนอกกรอบ
        5. ห้ามไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ในระหว่างกระบวนการแสดงความคิดเห็น
        6. หลีกเลี่ยงการปะทะอารมณ์
        7. เมื่อได้ผลจากการประชุมระดมสมองแล้ว ควรทำการรวบรวมและนำไปปรับปรุงหรือดำเนินการให้เกิดผล


เมื่อไหร่จะใช้เทคนิคการระดมสมอง
        1. เมื่อเรามีความต้องการที่จะค้นหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งหัวข้อปัญหาใหม่ เพื่อจะทำกิจกรรมใด ๆ การวิเคราะห์ปัญหา หรือการหาแนวทางในการแก้ปัญหา/แก้ไข
        2. เมื่อต้องการได้ความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้เกิดความการยอมรับ
        3. สามารถใช้ได้หลายกรณีในทุกขั้นตอนของ PDCA เพื่อค่อย ๆ ดึงความคิดเห็นออกมาทีละขั้นอย่างเป็นระบบ

 
         
 
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนทำขึ้น เริ่มต้นที่ ‘ความคิด’“
 
     
  ขั้นตอนในการระดมสมอง
        จะอาศัยหลักการความคิดสร้างสรรค์มาช่วยในการดำเนินการซึ่งขั้นตอนของการคิดสร้างสรรค์มี 2 ขั้นตอน ดังภาพ
 
   
           
          จากแนวความคิดหลักการของความคิดสร้างสรรค์ จะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการระดมสมอง ซึ่งมี 3 ขั้นตอนคือ  
        ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของการคิดระดมสมองจะมีการดำเนินการตามความคิดสร้างสรรค์ ที่จะแทรกกระบวนการของการขยายความคิด (Soft Divergent) เพื่อให้ได้ความคิดหรือค้นพบความคิดใหม่ ๆ กับขั้นตอนการรวบรวมความคิด (Hard Convergent) เพื่อทำการสรุปความคิดในขั้นตอนนั้น ๆ สำหรับการเตรียมพร้อมในการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ซึ่งสามารถสรุปในแต่ละขั้นตอนตามแผนภาพดังต่อไปนี้
        เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการดำเนินการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ต้องมีการนำปัญหาเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์ และหาแนวทางแก้ไข นำผลนี้ไปสร้างเป็นแผนปฏิบัติและความมีการใช้เครื่องมือหรือเทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย

ป.ล. ขอขอบคุณหนังสือดีๆ ที่ช่วยให้ผู้เขียนได้ตกตะกอนความคิด “17 เครื่องมือนักคิด Problem Solving Devices” เขียนโดย คุณวันรัตน์ จันทกิจ
ดัชนี [ 3.1 ความคิดสร้างสรรค์ ] [ 3.2 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ] [ กลับหน้าแรก ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com